เรื่องเล่าของ Anatomy of Leadership - AntiClassroom

เรื่องเล่าของ Anatomy of Leadership

เชื่อว่าเราเองต่างก็เคยมีประสบการณ์ในทำนองที่ว่า พอผ่านมาและมองย้อนกลับไปแล้ว ตอนนั้นไม่น่าต้องคิดมากขนาดนั้น

เช่น วิตกกังวลเกี่ยวกับความก้าวหน้าของตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองมักจะอยู่รั้งท้ายเสมอ แต่วันหนึ่งทุกอย่างก็เริ่มเข้าที่เข้าทาง และเป็นไปได้ด้วยดี

หรือคิดว่าเพื่อนร่วมงานไม่ชอบเรา ไม่มีใครอยากคุยกับเราเพราะเราคุยไม่เก่ง แต่เมื่อมีโอกาสได้ลองพูดคุยกันดูก็รู้สึกว่าน่าจะกล้าเป็นฝ่ายลองทักทายเพื่อน ๆ ก่อนไปตั้งนานแล้ว

ซึ่งความเครียดหรือความทุกข์เกินจำเป็นนี้ ไม่เพียงแต่ส่งผลให้เรารู้สึกแย่กับตัวเอง คุณแดเนียล นักจิตวิทยาองค์กร และที่ปรึกษาธุรกิจ เคยแบ่งปันกับผู้เข้าอบรมเวิร์กชอป Anatomy of Leadership ว่า ในขณะที่เราเครียด ร่างกายของเรายังหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า Cortisol ออกมาอีกด้วย ซึ่งถ้ามีการหลั่งติดต่อกันเป็นเวลานานจะส่งผลให้ร่างกายทำงานได้ด้อยประสิทธิภาพกว่าที่ควรเป็น เช่นถ้าเป็นแผลก็จะหายช้า ภูมิคุ้มกันตก เจ็บป่วยง่ายขึ้น บ่อยขึ้น (และในทางกลับกัน ถ้าเราเป็นคนที่รู้จักวางแผน ไม่ว่าจะเป็นแผนระยะสั้น หรือระยะยาว และสามารถมองเห็นความก้าวหน้าของตัวเองได้ในทุก ๆ วัน ร่างกายของเราก็จะหลั่งฮอร์โมน Serotonin ที่ช่วยให้เรารู้สึกสงบนิ่ง ปิติสุข รู้สึกเอาโลกอยู่มากขึ้น เป็นผลมาจากที่เราเข้าใจในความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ เช่นปัจจัยของความสำเร็จที่มาจากการพักผ่อนที่เพียงพอ การเข้าใจว่าแรงจูงใจในการทำงานของเราคืออะไร ของทีมงานคืออะไร ควรวางเป้าหมาย ซอยเป้าหมายอย่างไร ให้ทุกคนสำเร็จไปพร้อม ๆ กัน และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ก็รู้ว่าควรจะตอบสนองอย่างไร จึงจะลดแรงเสียดทานได้มากที่สุด และไปต่อได้เร็ว)

จึงไม่เป็นผลดีต่อชีวิตใครคนใดคนหนึ่งเลยหากต้องจมอยู่กับสภาวะแห่งความเครียดเรื้อรังในระยะยาว

จากตัวอย่างข้างต้นที่สถานการณ์เปลี่ยนจากร้ายเป็นดี เราอาจจะไม่ได้สังเกต แต่บ่อยครั้งที่เมื่อผลลัพธ์ออกมาดี ในทางจิตวิทยาแล้วมันเป็นผลจากการตัดสินใจเลือกที่จะทำบางอย่างโดยไม่รู้ตัว เปรียบเสมือนเราหยิบเครื่องมือออกมาจากกล่องเครื่องมือของเรา แล้วเอามาปรับจูนกับสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่เราไม่ได้รู้จักเครื่องมือในกล่องเครื่องมือของเราอย่างถ่องแท้ รวมถึงวิธีการใช้ บางทีเราอาจหยิบเครื่องมือที่ถูกต้อง แต่ใช้ผิด เราก็เผลอคิดว่ามันไม่ได้ผล

แล้วมันเกี่ยวกับภาวะผู้นำอย่างไร ?

เรามักพูดถึงลักษณะของเหล่าผู้นำกันเช่น

  • ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค
  • เป็นคนมีวิสัยทัศน์
  • กล้าตัดสินใจ

และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งถ้าเรา Hack ที่มาที่ไปของคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้ เราจะประหลาดใจมากว่ามันเกิดจากการทำความเข้าใจตัวเอง การเข้าใจตัวเองในที่นี้คือการเข้าใจการทำงานของร่างกาย ชุดความคิดของเรา วิธีประมวลผลในสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านมาที่เราใช้

มันคือการ Track กลับไปว่า Peak performance ของเราเกิดขึ้นจากอะไร เราผ่านมันมาได้อย่างไร และเมื่อเราเข้าใจอย่างกระจ่างชัดเจนยิ่งขึ้น เราก็จะยิ่งมั่นใจในการออกแบบสิ่งแวดล้อมของเราที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

ผลพลอยได้ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือมันสะท้อนให้ผู้อื่นรู้สึกปลอดภัยยามที่อยู่กับเรา เห็นว่าเราเป็นคนที่พึ่งพาสำหรับเขาได้ รู้สึกเคารพนับถือในตัวเรา ไม่ได้มาจากการที่เราพยายามแสดงออกว่าเราเป็นคนมั่นใจ พยายามทำให้เขาเห็นว่าเราอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าเขา (เรารู้กันดีว่าในสังคมมีคนแบบนี้อยู่)

มีหลายวิธีการทางจิตวิทยาในการรับมือกับความเครียด ความท้าทาย และเสริมสร้างภาวะผู้นำทั้งในมิติของการทำงาน และชีวิตส่วนตัว ที่ผู้ร่วมอบรมของเราได้เรียนรู้ผ่านเวิร์กชอป Anatomy of Leadership แต่ทั้งหมด อยู่ภายใน 3 วัตถุประสงค์ ได้แก่

1. ปรับจูนสิ่งที่เรายังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้องชัดเจน
2. เก็บรักษาสิ่งที่เกื้อหนุนเราไปสู่จุดที่ต้องการ
3. ละจากสิ่งที่ไม่เอื้อต่อการเติบโต

ถ้ายังนึกไม่ค่อยออก เชื่อว่ารีวิวจากคุณป้อ อาจจะช่วยให้คุณเห็นภาพกันมากขึ้น

ผ่านการทำความเข้าใจตัวเองก่อนนี้เอง คุณจึงจะสามารถเข้าใจที่มาที่ไปของเรื่องราว ของพฤติกรรมของตัวเองและผู้อื่น และสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้จากผ่านชุดเครื่องมือของผู้นำ ในกล่องเครื่องมือผู้นำของคุณ 😊

สนใจเวิร์กชอป Anatomy of Leadership อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *