การให้ Feedback ที่มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดการพัฒนา รวมถึงความรัก และความสามัคคีในองค์กร ไม่ใช่แค่การมีชั้นเชิงในการสื่อสารเท่านั้น ความรวดเร็วในการให้ Feedback หรือแม้กระทั่งสถานที่ในการแบ่งปัน Feedback เองก็มีความสำคัญไม่แพ้กันทั้งในมุมของการแข่งขันทางธุรกิจและความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างบุคคลทำงาน
เพื่อให้เห็นภาพ มาลองดู 2 สถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับให้ Feedback ระหว่างหัวหน้างานและทีมงาน และหัวหน้างานกับหัวหน้าของพวกเขาอีกทีกันดีกว่า
32% ของพนักงานจาก 1000 บริษัทใน 150 ประเทศ ใช้เวลารอคอยมากกว่า 3 เดือนในการได้รับ Feedback จากหัวหน้างานของพวกเขา
แหล่งที่มาของสถิติ
ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลอะไรก็ตามที่มีการให้ Feedback ล่าช้า เช่นตัวหัวหน้างานเองไม่กล้าให้ Feedback กับทีมงาน หรือรูปแบบการสื่อสารภายในองค์กรขนาดใหญ่ที่ไม่เอื้อต่อสถานการณ์ปัจจุบัน คุณคิดว่าช่วงเวลากว่า 3 เดือนนี้สามารถมีอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง
- พนักงานไม่สามารถจดจำรายละเอียดเรื่องราวที่หัวหน้างานมอบ Feedback ได้
- ตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ทีมงานไม่เคยรู้เลยว่าพฤติกรรมใดคือพฤติกรรมที่อาจก่อความเสียหาย และอาจมีการกระทำซ้ำในระยะเวลา 3 เดือนนี้ที่ส่งผลต่อยอดขายและภาพลักษณ์ของแบรนด์
- พนักงานมีมุมมองที่ไม่ดีต่อตัวหัวหน้าที่ให้ Feedback ตัวเองล่าช้า ความรักความปรองดองในทีมอาจสั่นคลอน
นอกจากความเร็วในการ Feedback ที่ในหลายสถานการณ์ยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น ในฝั่งของหัวหน้างานเองก็มีเรื่องให้ต้องเรียนรู้ เพื่อที่จะเติบโตขึ้นในบทบาทของผู้นำเช่นกัน พวกเขาก็ต้องการการได้ Feedback เช่นกัน สถิติที่น่าสนใจบอกเราว่า
หัวหน้างานได้รับ Feedback จากผู้บังคับบัญชาของตัวเอง จะช่วยให้ตัวหัวหน้างานรู้วิธีการ และเทคนิคในการบริหารทีมได้ดีขึ้น สร้างผลกำไรได้มากขึ้นกว่าหัวหน้างานที่ไม่ได้รับ Feedback ที่ 8.9%
แหล่งที่มาของสถิติ
ซึ่งผู้ที่จะให้ Feedback ที่ช่วยให้หัวหน้างานกลายเป็นผู้นำที่เก่งและมีความสามารถมากขึ้นกว่าเดิมอาจหมายถึงตัวเจ้าของธุรกิจเองก็เป็นได้
และไม่ว่าใครจะเป็นผู้ให้ Feedback ก็ตาม สิ่งที่พวกเราได้เรียนรู้จากผู้เข้าร่วมเวิร์กชอป Leadership In Practice ก็คือ
สถานที่ในการพูดคุยหรืออาจจะรวมถึงการให้ Feedback ซึ่งกันและกันมีผลในการช่วยยกระดับการสื่อสารและการสร้าง Empaty เป็นอย่างมาก
ขอบคุณการแบ่งปันของ “คุณอ้น” เจ้าของธุรกิจที่มีหัวหน้างานหลายชีวิตที่ต้องดูแลได้บอกเล่ากับพวกเราว่าก่อนจบเวิร์กชอป Leadership In Practice ว่าคุณอ้นและทีมมีการพูดคุยกันอยู่เสมอเป็นประจำอยู่แล้ว แต่วันนี้ในการทำเวิร์กชอป คุณอ้นพบว่าด้วยสถานที่ที่มีพื้นที่ส่วนตัวเอื้อต่อการให้เกิดบทสนทนา รวมถึงการละวางจากงานที่อยู่ตรงหน้าเพื่อรับฟังและพูดคุยเพียงอย่างเดียวส่งผลให้การแลกเปลี่ยนชุดข้อมูลระหว่างกันและกันมีความเข้มข้นและลงลึกในรายละเอียดขึ้น ช่วยคุณอ้นได้เข้าใจในสิ่งที่หัวหน้างานเผชิญได้ชัดเจนขึ้นและหยิบยื่น Solution ที่ตอบโจทย์กับความต้องการของหัวหน้างานได้ดีขึ้น
สุดท้ายนี้ AntiClassroom หวังว่าทุก ๆ การสื่อสารในองค์กรของคุณจะช่วยให้ทีมเห็นภาพถึงเป้าหมายและวิธีการในการบรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน และช่วยให้สมาชิกของทีมมีความภาคภูมิใจและเห็นถึงความสำคัญของบทบาทหน้าที่ของตัวเองมากขึ้นในทุก ๆ วันค่ะ 😊
สำหรับผู้ที่สนใจเวิร์กชอป Leadership In Practice เปลี่ยนหัวหน้างานของคุณให้เก่งทั้งงาน เก่งทั้งคน สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่
เห็นด้วยมาก ๆ เลยครับ ทั้ง 2 ข้อเลย
1) ความเร็ว – บางครั้งตัวลูกน้องเองก็ต้องการพัฒนาตัวเองเสมอ แต่การได้รับ Feedback ที่ช้า ถึงแม้จะดีแค่ไหนก็ตาม บางครั้งเราก็ Take action ต่อลำบากเพราะอาจจะสายเกินแก้ หรือย้ายไป Role ใหม่ ๆ เเล้ว
2) สถานที่ – เห็นด้วยเพราะบางครั้ง Feedback ในสถานที่ทำงานเราก็จะ Focus only on performance/task แต่บางทีก็ละเลย Emotion/feeling ของทั้งสองฝ่ายไปด้วย ซึ่งหลาย ๆ ครั้ง emotion/feeling ที่มีต่อทีม องค์กร หรือหัวหน้า คือตัวขับเคลื่อน performance เลย
ขอบคุณครับ