มีคำกล่าวจาก Mike Tyson ที่ว่า
ถ้าคุณเป็นเพื่อนกับทุกคน เท่ากับคุณกำลังเป็นศัตรูกับตัวคุณเอง
สำหรับพวกเราบางคน การกล่าวปฏิเสธถือเป็นเรื่องที่น่าหนักใจ แม้เราจะรู้ว่าในหลาย ๆ ครั้งเราไม่อยากตอบรับคำชวนในวันหยุดของเรา ตอบรับการขอความช่วยเหลือ ในเรื่องที่เราคิดว่าไม่เหมาะสม แต่สุดท้ายสิ่งที่เราทำคือการตอบปากรับคำ แล้วก็มารู้สึกแย่ในตอนท้ายอยู่คนเดียว
การเรียนรู้ที่จะพูดว่า “ไม่” เป็นทักษะสำคัญที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของเราได้อย่างมาก
AntiClassroom ขอเชื้อเชิญให้พวกเรามาลองทำความเข้าใจผ่านมุมมองทางจิตวิทยาว่ามีอะไรอยู่เบื้องหลังความคิด ที่ทำให้เราไม่กล้ากล่าวคำปฏิเสธ อาจช่วยให้พวกเราสามารถก้าวข้ามสิ่งที่อาจจะเป็นภาพลวงตาเหล่านี้ และกล้าที่จะสื่อสารถึงความต้องการของตัวเองได้มากขึ้น
1. ไม่กล้าปฏิเสธเพราะกลัวไม่เป็นที่ยอมรับ
พวกเราหลายคนอาจกำลังอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องการการสนับสนุนจากผู้อื่น เช่นต้องการผ่านโปร ต้องการที่จะเข้ากับเพื่อนในที่ทำงานใหม่ ต้องการความเชื่อมั่นจากผู้ใหญ่คนสำคัญ เป็นต้น โดยไม่รู้ตัว เราเริ่มจัดลำดับความต้องการของผู้อื่นมาเป็นอันดับ 1 และหวังว่าหากเราให้ความช่วยเหลือพวกเขา ตอบสนองพวกเขา สถานะทางสังคมของเราก็จะเป็นที่ยอมรับมากขึ้น ราบรื่นมากขึ้น
2. ไม่กล้าปฏิเสธเพราะกลัวการรู้ความสึกผิด
ความรู้สึกผิดบางอย่างที่เกิดขึ้นในใจ มีผลต่อความคิดในยามที่เราต้องการจะปฏิเสธ อารมณ์เหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากความเชื่อของเราที่มีต่อตัวเองและผู้อื่น เช่นระหว่างลูกและพ่อแม่ ระหว่างสามี ภรรยา หรืออาจเกิดจากความคาดหวังของสังคม หรือจากประสบการณ์ในอดีต
3. ไม่กล้าปฏิเสธเพราะไม่รู้วิธีปฏิเสธอย่างเหมาะสม
ปัญหาสำหรับบางคนคือการขาดทักษะในการกล้าแสดงออกถึงความต้องการของตัวเอง ซึ่งทำให้การเรียบเรียงเพื่อสื่อสารความรู้สึกนึกคิดของตัวเองถือเป็นเรื่องท้าทาย นั่นรวมไปถึงยามที่ต้องสื่อสารว่าเราไม่ต้องการทำอะไรบางอย่างด้วย
ใน 3 ตัวอย่างข้างต้นนี้มีข้อไหนที่คุณคิดว่าใกล้เคียงกับกรณีของคุณบ้าง สำหรับบางคนอาจมีมากกว่า 1 ข้อ สำหรับบางคนอาจแค่คลับคล้ายคลับคลา และสำหรับบางคนอาจไม่มีเลย ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะว่ายังมีอีกหลายเหตุผลที่ส่งผลให้คนคนหนึ่งติดอยู่กับสภาวะบางอย่าง และที่มาที่ไปของพวกเราแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน
และเราไม่ได้กำลังบอกว่าการกล่าวว่าไม่จะทำให้ชีวิตของคุณดีขึ้นในทุกครั้ง แต่ถ้าคุณเห็นด้วยว่า เพื่อที่จะมีเวลาให้ตัวเองมากกว่านี้ เพื่อที่จะไม่ต้องรู้สึกเก็บกดต่อบุคคลที่มาขอความช่วยเหลือจากคุณ และเพื่อที่จะไม่กลายเป็นคนที่ทรยศต่อตัวเอง การลองทบทวนที่มาที่ไปว่าเหตุผลเบื้องลึกอะไรคือสิ่งที่ฉุดรั้งคุณจากการมีพฤติกรรมที่จะช่วยให้คุณกลายเป็นคนที่ดีขึ้นกับตัวเองและผู้อื่นอย่างแท้จริง ไม่จำเป็นว่าเหตุผลที่คุณเจอจะถูกต้อง 100% หรือไม่ คุณอาจจะสมมุติว่ามันคือเหตุผลนี้ก่อนก็ได้ และลอง Work on กับมันดู
ตัวอย่างเช่น ไม่กล้าปฏิเสธเพราะกลัวความรู้สึกผิด
กรณีที่เรารู้สึกว่าอีกฝ่ายได้ร้องขอในสิ่งที่คุณไม่สบายใจ ไม่พร้อมที่จะมอบให้ในขณะนี้
เราอาจรู้สึกผิดเพราะว่าเราคิดว่าถ้าปฏิเสธไป อีกฝ่ายอาจจะเสียความรู้สึก เราอาจลองตั้งคำถามกับตัวเองดูว่า แท้จริงแล้วเราทำร้ายคนอื่นจริงหรือไม่ และถ้าเราไม่ปฏิเสธต่อพฤติกรรมลักษณะนี้ ชีวิตของตัวเราและอีกฝ่ายจากนี้อีก 1 เดือนหรือ 1 ปี จะอยู่ในจุดที่ดีขึ้นหรือว่าแย่ลง
ในกรณีนี้ คุณสามารถนำความกลัวมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ ในเวิร์กชอป Anatomy of Leadership มีบางแง่มุมเกี่ยวกับความกลัว ที่เราได้หยิบยกขึ้นมาพูดคุยกัน ว่าแท้จริงแล้วมันมีประโยชน์หรือไม่ และวิธีใช้ประโยชน์จากมันอย่างสร้างสรร เช่นการถามตัวเองว่า
เรากลัวการกล่าวปฏิเสธในวันนี้มากกว่า หรือกลัวชีวิตจะไปอยู่ในจุดที่เลวร้ายในอนาคตมากกว่า ?
(จริง ๆ แล้วยังมีหลายชุดความรู้สึกที่เรานำมาตีแผ่ค้นหาความจริงกัน เช่นความวิตกกังวล ความเครียดเรื้อรัง การผัดวันประกันพรุ่ง ถึงที่มาที่ไปและวิธีรับมือ เพราะเราไม่สามารถมองข้ามพฤติกรรมที่ทำลายตัวเองเหล่านี้ได้ หากต้องการให้ชีวิตดีขึ้น)
เป็นต้น
สุดท้ายนี้ เราเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นอุปสรรครูปแบบไหนที่เรากำลังเผชิญ แม้วันนี้เราจะยังไม่เจอ Solution ที่เหมาะสม แต่ถ้าในใจของเราต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงและเชื่อว่าชีวิตสามารถดีขึ้นได้กว่านี้แล้วล่ะก็ ชีวิตนี้ย่อมไม่หยุดนิ่งและมีความหวังอยู่เสมอ
เราขอเป็นอีกกำลังใจให้คุณก้าวเดินอย่างไม่หยุดยั้งสู่เป้าหมาย 😊
สนใจเวิร์กชอป Anatomy of Leadership อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้