ปรากฏการณ์ The Great Resignation การลาออกอย่างล้นหลามของพนักงานจากฝั่งอเมริกา ในสาขาอาชีพต่าง ๆ หลังจากที่เหตการณ์ Covid เริ่มดีขึ้น อย่างไล่เลี่ยกัน และพฤติกรรมที่ต่างจากอดีตก็คือพนักงานหลายคน ลาออกทั้ง ๆ ที่ตัวเองยังไม่ได้งานใหม่ คือหนึ่งในตัวอย่างนั้น
เชื่อว่าอาจเป็นเพราะ ปี 2020-2021 เป็นปีที่ท้าทายของทุกคนจากการปรับตัวเพื่ออยู่รอดในสถานการณ์ Covid ทั้งจากฝั่งเจ้าของธุรกิจและคนทำงาน ที่ส่งผลให้มีภาวะเครียดสะสม หรือค้นพบศักยภาพของตัวเองมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า หากเหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติแล้ว การตัดสินใจต่าง ๆ ของผู้คนจึงเปลี่ยนไปจากเดิม
ย้อนกลับมาที่ตัวเรา การที่เจ้าของธุรกิจตั้งคำถามกับตัวเองว่า มีปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้พนักงานรู้สึกอยากลาออก ? ถือเป็นสิ่งที่สมแก่การครุ่นคิดและหาทางป้องกัน
[*พนักงานในที่นี้หมายถึง พนักงานที่ใช่ หรือมี Potential ในการพัฒนาต่อที่องค์กรไม่อยากสูญเสีย]
สาเหตุที่พนักงานลาออก
หลายท่านอาจจะคิดว่าเป็นในเรื่องของค่าตอบแทน แต่จากที่เมย์ได้มีโอกาสพูดคุยและรับฟังเรื่องราวของผู้ร่วมเวิร์กชอป AntiClassroom มาบ้าง มีอยู่ 2 สาเหตุด้วยกันหัวหน้างานและนายจ้างอาจมองข้ามไปและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงอยากหยิบยกขึ้นมาแบ่งปันกันในวันนี้
1. พนักงานลาออก เพราะไม่ได้รับการสนับสนุนทางอารมณ์จากนายจ้าง
การที่เจ้าของธุรกิจมีสิ่งที่ต้องทำมากมายในแต่ละวัน รวมถึงความเชื่อว่าตนเองได้วางระบบการทำงานไว้เป็นอย่างดีและได้มอบหมายเครื่องมือที่จำเป็นในการทำงานให้กับพนักงานไว้อย่างเพียงพอแล้ว อาจทำให้เราและพนักงานมีการพูดคุยและแสดงออกทางความรู้สึกกันน้อยลง
เพราะการที่ระบบ Automation ต่าง ๆ ที่ในยุคนี้สามารถช่วยให้เนื้องานราบรื่นอาจส่งผลให้พนักงานบางคนรู้สึกว่าหน้าที่ของตนเองไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญหรือเป็นประโยชน์เท่าที่ควร และเริ่มไม่มีความสุขกับการไปทำงาน ยังไม่รวมถึงปัญหาการทำงานและชีวิตส่วนตัวอื่น ๆ ที่พนักงานอาจต้องรับมือกับมันเพียงลำพัง ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่นำมาซึ่งการลาออกได้
สิ่งนี้ทำให้เมย์นึกถึง สิ่งที่คุณ Daniel Patrick Maddox แบ่งปันผ่านเวิร์กชอป Internal Leadership ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความสำคัญของการเป็นผู้นำที่ลูกน้องเข้าถึงได้ง่าย การแสดงออกถึง Emphaty การรู้จักกล่าวชมเชยพฤติกรรมที่ดีของพนักงาน ทั้งหมดนี้ไม่เพียงแต่สามารถนำไปแก้ไขปัญหาการ Turnover ของพนักงาน แต่ยังทำให้พนักงานมีมุมมองต่อตัวเองได้ดีขึ้น เห็นถึงความสำคัญในบทบาทหน้าที่ของตัวเองได้มากขึ้น ชีวิตการทำงานรวมถึงชีวิตส่วนตัวที่ดีขึ้น และที่สำคัญพวกเขาจะรักและเคารพเรามากขึ้นตามไปด้วย
2. พนักงานลาออก เพราะหมดไฟในการทำงาน
“เพราะรู้สึกหมดไฟก็เลยลาออก”
เป็นสิ่งที่ทั้งเจ้าตัวและนายจ้างอาจเชื่อสนิทใจว่าเป็นดังที่กล่าวมาจริง แต่ที่มาของอาการหมดไฟนั้นมาจากการที่พนักงานมองไม่เห็นอนาคตของตัวเองจากการที่ตื่นมาทำงานในทุกเช้า เพราะองค์กรไม่มี Transition ที่ชัดเจน
ส่วนตัวเมย์และผู้ร่วมเวิร์กชอปคนอื่น ๆ มีโอกาสได้ฟังคุณ Daniel อธิบายถึงความสำคัญของการมี Transition ผ่านเวิร์กชอป Interview Matrix และเห็นพ้องต้องกันว่า ไม่ว่าจะเป็นในยุคสมัยใด สาเหตุหนึ่งของการหมดไฟของพนักงานเกิดจากการขาด Transition ที่ดีพอ
ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นำที่ต้องช่วยให้ลูกน้องมองเห็น ว่าจากจุดที่เขาอยู่นี้ เขาจะสามารถเติบโตไปได้ถึงจุดใดได้บ้างในอนาคต ด้วยวิธีอะไร ภายในระยะเวลาเท่าไหร่(สิ่งที่องค์กรมอบให้เขาต้องตรงกับสิ่งที่เขาต้องการ) เราจึงสามารถรักษาพวกเขาไว้ได้
มาถึงตรงนี้เราอาจรู้สึกว่ามันไม่ง่ายเลย ในการหาสาเหตุที่แท้จริงที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังการลาออก แต่เมย์คิดว่าก็เป็นสิ่งที่คุ้มค่าหากเราใช้เวลาศึกษาในเรื่องราวเหล่านี้เพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อความก้าวหน้าขององค์กรและบุคลากรคนสำคัญของเรา
เป็นเพื่อนกับ AntiClassroom เพื่อติดตามบทความดี ๆ และกำหนดการเวิร์กชอปที่น่าสนใจของเราได้ที่